คุณกินนอน ตามเวลาของร่างกายถูกต้องหรือไม่
เพราะคนเราถูกกำหนดช่วงเวลาในการทำกิจกรรมสำคัญมาแล้วอย่างแน่นอนตายตัว การปฏิบัติตัวให้เหมาะสมสอดคล้องกับโปรแกรมที่กำหนดไว้จึงเป็นขั้นแรกของการรักษาสุขภาพ การงดเว้นกิจกรรมที่ควรกระทำในเวลาที่กำหนดจึงคล้ายกับการไม่นำรถไปซ่อมตามระยะเวลา เมื่อร่างกายขาดการซ่อมบำรุง นานเข้าก็ย่อมเสื่อมสภาพในที่สุด
21.00 น. - 23.00 น. เวลาเข้านอน เพราะเป็นช่วงที่ระบบภูมิต้านทานโรคทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด และสะสมพลังงานไว้ในคลังสำรองเพื่อใช้ในการซ่อมแซมตนเองตลอดทั้งคืน
23.00 น. - 01.00 น. เวลาของถุงน้ำดี พลังงานที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้จะถูกนำมาที่ถุงน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาเดียวที่ไขมันจะได้รับการย่อยสลายอย่างมีประสิทธิภาพ หากร่างกายไม่ได้พักผ่อน ไขมันที่ไม่ผ่านการย่อยจะตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่างๆ เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าท้อง ถุงใต้ตา เป็นต้น
01.00 น. - 03.00 น. เวลาของตับ ที่จะได้ทำหน้าที่สกัดสารพิษในร่างกาย ทำลายเม็ดเลือดที่หมดอายุและเสื่อมสภาพ สร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว และสร้างน้ำดีไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีเพื่อใช้ย่อยไขมัน หากเราไม่นอนในช่วงนี้จะทำให้ตับอ่อนแอลง การผลิตน้ำดีลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อตับอ่อนและสัมพันธ์โดยตรงกับการผลิตอินซูลินด้วย จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิต เบาหวาน ฯลฯ
03.00 น. - 05.00 น. เวลาของปอด เพราะปอดทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงเหมาะสมที่จะตื่นนอนเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ที่ยังไม่ปนเปื้อน
05.00 น. - 07.00 น. เวลาของลำไส้ใหญ่ เพราะลำไส้ใหญ่จะมีพลังบีบรัดตัวสูงสุดเพื่อกำจัดกากอาหารออกไป หากไม่ได้ขับถ่ายในช่วงนี้ (แต่ไปขับถ่ายในเวลาอื่นแทน) คุณอาจขับถ่ายได้ไม่หมด มีอุจจาระบางส่วนตกค้างในลำไส้ และดูดซึมสารพิษกลับไปใช้ในกระแสเลือด ทำให้เกิดสิว ริ้วรอยบนใบหน้า การออกกำลังกายในช่วงเวลาก่อนหน้านี้จะช่วยให้ลำไส้ใหญ่ขยับตัวและขับถ่ายได้ดีขึ้น
07.00 น. - 09.00 น. เวลาของกระเพาะอาหาร หลังจากที่ทำงานซ่อมแซมส่วนต่างๆมาแล้วทั้งคืน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่กระเพาะอาหารจะย่อยอาหารได้อย่างดีที่สุด หลั่งน้ำย่อยมากที่สุดเพื่อย่อยอาหารไปหล่อเลี้ยงทั้งร่างกาย การงดอาหารเช้านอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงโรคในอวัยวะอื่นๆ (ที่ต้องการพลังงานจากกระเพาะอาหาร) และทำให้หิวจุบจิบทั้งวัน
09.00 น. - 11.00 น. เวลาของม้าม ที่จะรับพลังงานจากการย่อยอาหารมาแปรสภาพเป็นการผลิตเม็ดเลือดแดงเพื่อนำไปดำเนินกิจกรรมต่างๆของร่างกายตลอดทั้งวัน หากไม่ได้รับพลังงานจากอาหารเช้า ม้ามจะต้องดึงพลังงานสำรองอกมาใช้ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น